วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

วิเคราะห์พัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมของการตั้งถิ่นฐาน

         การที่คนมาตั้งถิ่นฐานในประเทศสิงคโปร์นั้นเป็นเพราะประเทศสิงคโปร์มีขนาดเป็นเกาะเล็กๆและติดกับทะเลทำให้เดินทางได้สะดวกและสามารถทำการค้าขายกับต่างประเทศได้สะดวกเนื่องจากเวลาที่มีเรือเดินทางไปประเทศจีนก็มีโอกาสที่จะแล่นผ่านสิงคโปร์และหยุดพักจึงได้ทำการค้าขายกับสิงคโปร์ไปด้วยและด้วยความที่เป็นเกาะเล็กๆจึงทำให้สามารถหาทรัพยากรได้ง่ายและอากาศไม่ร้อนมากจนเกินไปจึงทำให้คนที่มาอยู่สิงคโปร์มีหลายเชื้อชาติและมีจำนวนมาก วัฒนธรรมในประเทศสิงคโปร์จึงมีหลากหลายแต่เพราะประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวจีนจึงมีวัฒนธรรมส่วนใหญ่เป็นของจีนซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อต่างๆทางศาสนาแต่ถึงจะมีหลากหลายวัฒนธรรมแต่วัฒนธรรมทั้งหมดก็ผสมกลมกลืนกันได้และไม่เกิดความแตกแยกขึ้น ศาสนาที่ประชาชนนับถือก็มี ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามและศาสนาฮินดู ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับฉันคือหากฉันไปอาศัยที่ประเทศสิงคโปร์ฉันจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สถานที่และประชาชนได้ไม่ยากและไม่ต้องปรับตัวมากและสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศอื่นๆได้ง่าย

สถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

อาคารโรงละคร Esplanade
             ถ้าออกมาจากอุโมงค์ City Link Mall แล้วเลี้ยวขวาจะเห็นอาคารรูปทรงแปลกๆ ซึ่งบางคนก็บอกว่ามันมีลักษณะเหมือนตาแมลงวัน บางคนก็บอกว่าเหมือนเปลือกทุเรียน ซึ่งอาคารแห่งนี้มีชื่อว่า Esplanade อาคารแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของงานศิลปะ การแสดงเหมือนกับ Sydney Opera House ของประเทศออสเตรเลีย โดยในทุกๆ วันจะมีรายการแสดงต่างๆ มากมายหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันมาให้ความบันเทิงกับนักท่องเที่ยว อาคารแห่งนี้ถูกสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 2002 มี Hall เพื่อจัดการแสดงคอนเสิร์ตที่สามารถจุผู้ชมได้มากถึง 1,600 ที่นั่ง และมีโรงละครที่สามารถจุผู้ชมได้มากถึง 2,000 ที่นั่ง บริเวณรอบๆ อาคาร จะมีโรงละครกลางแจ้ง เป็นพื้นที่จัดแสดงศิลปะพื้นบ้านและนิทรรศการต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ชมฟรี ปัจจุบันด้วยรูปทรงที่แปลกตาของอาคาร Esplanade ทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของประเทศสิงคโปร์นอกเหนือจาก Merlion
Clarke Quay
               ท่าเรือแห่งนี้ตั้งชื่อตามเซอร์แอนดรูว์ คลาร์ก (Sir Andrew Clarke) ผู้ว่าคนที่สองของสิงคโปร์ ท่าเรือแห่งนี้เคยเป็นศูนย์กลางด้านการค้าขาย ที่นี่เคยมีเรือท้องแบนจำนวนมหาศาลทำการขนส่งสินค้าทวนน้ำไปที่โกดังสินค้าใกล้ๆกับทางเข้าท่าเรือคลาร์กที่ถนนริเวอร์แวลเลย์ ซึ่งจะเห็นโรงน้ำแข็งแวมโป (Whampoa's Ice House) ซึ่งเป็นของนายฮูอาเคย์ (Hoo Ah Kay) ผู้อพยพยุคแรกจากแวมโปประเทศจีน เขาเป็นคนนำเข้าน้ำแข็งจากบอสตันในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ก่อนที่จะมีเครื่องทำน้ำแข็งในประเทศสิงคโปร์ จะสังเกตเห็นว่าพ่อค้าชาวจีนและชาวยุโรปต่างก็นำรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของตนเข้าสู่บริเวณนี้
Universal Studios Singapore
   
 Universal Studios Singapore เป็นสวนสนุกที่แรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีเครื่องเล่น 24 ชนิดโดย 18 ชนิดเป็นเครื่องเล่นที่ออกแบบใหม่หรือดัดแปลงเพื่อที่นี่โดยเฉพาะแบ่งออกเป็น 7 โซน ได้แก่
1.Sci-Fi City รถไฟเหาะรางคู่ที่สูงที่สุดในโลก ด้วยระดับความสูง 42.5 เมตร โดยจำลองจากซีรี่ย์ชื่อดัง Battlestar Galactica โดยผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นฝ่าย Human หรือฝ่ายวายร้าย Cylon ก่อนขึ้นไปเล่น
 2. Ancient Egypt เครื่องเล่นความเร็วสูงใน Revenge of the Mummy 
3.The Lost World ชมการแสดงโชว์ได้ที่ Water World และล่องแก่งผจญภัยในสวนไดโนเสาร์ที่ Jurassic Park Rapid Adventure และชมสวนสนุกจากบนฟ้าได้ที่ Canopy Flyer 
4. Madagascar ล่องเรือชมธรรมชาติ พบกับ 4 นักแสดงนำจากการ์ตูนเรื่อง Madagascar ได้แก่ Alex , Marty, Malman และ Gloria 
5. New York สัมผัสเมืองจำลองนิวยอร์ก การแสดง Special Effect ในโชว์ชุดพิเศษLight! Camera! Action! โดย สตีเว่น สปีลเบิร์ก
6. Hollywood พบกับโรงละครสไตล์ Broadway และเหล่าดาราที่จะมาปรากฏตัวบนถนนแห่งนี้
7. Far Far Away ชมภาพยนตร์ 4 มิติ เรื่อง Shrek ได้ในโซนนี้ 

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

เกาะพูเลา อูบิน (Pulau Ubin)
         เกาะพูเลา อูบินได้ชื่อว่าเป็นเขตแดนป่า แห่งสุดท้ายของสิงคโปร์ ชื่อนี้ได้มาจากคำว่าซูบิน (Zubin) ซึ่งหมายถึงหินแกรนิต เหมืองหินแกรนิตทำให้เกาะนี้ดูเป็นธรรมชาติที่เรียบง่าย ซึ่งแตกต่างจากความทันสมัยในเมืองโดยสิ้นเชิง ที่ปลายสุดด้านตะวันออกของพูเลา อูบินจะมีชายหาดธรรมชาติที่ชื่อ เชคจาวา ที่นี่มีสัตว์ทะเลอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างเช่น แมงดาทะเลและเหรียญทะเล (เป็นสัตว์ในตระกูลปลาดาว มีรูปร่างกลมแบน) หาดนี้มีต้นหญ้าทะเล ซึ่งเป็นบ้านของดอกไม้ทะเลแบบพรมและนกยูง มีเศษปะการังซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของฟองน้ำสีต่างๆ
เกาะเซ็นโตซ่า(Sentosa Island)
         เกาะเซ็นโตซ่าเป็นเกาะที่มีบรรยากาศตรงกันข้ามกับในตัวเมืองสิงคโปร์อย่างสิ้นเชิง เหมาะสำหรับทุกคนตั้งแต่ครอบครัว, ผู้รอบรู้ในด้านประวัติศาสตร์ไปจนถึงผู้ที่รักธรรมชาติ ในบรรดาเกาะที่รายล้อมอยู่ใกล้กับประเทศสิงคโปร์นั้นเกาะเซ็นโตซ่าถือได้ว่าเป็นเกาะที่มีชื่อเสียงมากที่สุดซึ่งในปัจจุบันเกาะแห่งนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำของสิงคโปร์
ประวัติของเกาะเซ็นโตซ่า
           สมัยก่อนเกาะเซ็นโตซ่า (Sentosa) นั้นมีชื่อว่าเกาะแห่งความตาย แต่เดิมเกาะแห่งนี้เป็นหมู่บ้านของชาวประมง และต่อมาเกิดโรคระบาด คนบนเกาะจำนวนมากจึงเสียชีวิตลงทำให้ได้มีการตั้งชื่อเกาะตามภาษามาลายูว่า บลากัง มาติ (Balakang Mati)’ ซึ่งหมายถึงเกาะแห่งความตาย ต่อมาสมัยสงครามโลก อังกฤษได้เข้ามาทำเกาะนี้เป็นป้อมปราการเพื่อป้องกันการโจมตีทางน้ำ เมื่ออังกฤษถอนทัพไปในปี 1968 รัฐบาลสิงคโปร์จึงได้ปรับปรุงเกาะให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเปลี่ยนชื่อเกาะเป็น
เซ็นโตซ่า (Sentosa) ซึ่งหมายถึงสันติภาพและความสงบสุข และเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการในปี 1972 เป็นต้นมา
สวนสัตว์กลางคืน (Night Safari)
            สวนสัตว์กลางคืนสิงคโปร์ (Night Safari) เป็นสวนสัตว์ที่สร้างด้วยเงินกว่า 60 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์เริ่มเปิดเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1994 ในพื้นที่ป่าดงดิบ 40 เฮกเตอร์มีสัตว์ที่ออกหากินตอนกลางคืนมีทั้งหมด 1,200 ตัว 110 พันธุ์ พื้นที่สวนสัตว์แบ่งเป็นโซนต่างๆได้แก่ ป่าฝนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ทุ่งหญ้าสะวันน่าของประเทศแอฟริกา, หุบเขาแม่น้ำเนปาล, ที่ราบกว้างไม่มีต้นไม้ในอเมริกาใต้ และป่าพม่า ที่ศูนย์สงวนและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์มีการสาธิตการเพาะพันธุ์สัตว์หายาก เช่น เสือโคร่ง แรดอินเดีย และตัวกินมด

ระบบเศรษฐกิจ

          สิงคโปร์มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะ มีพื้นที่น้อย รัฐบาลจีงต้องใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และได้มีการถมทะเลเพื่อให้ได้พื้นที่เพิ่มมากขึ้น อาชีพหลักที่ทำรายได้ให้กับสิงคโปร์คือธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม สิงคโปร์เป็นเมืองท่าใหญ่อันดับ 4 ของโลก ในแต่ละปีจะมีเรือสินค้าผ่านเข้า - ออกท่าเรือไม่ต่ำกว่า 4000 ลำ สิงคโปร์มีโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 2400แห่ง โรงงานอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันเป็นโรงงานที่ทันสมัย และทันสมัยและใหญ่ที่สุดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลิตผลจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ อะลูมิเนียม, มะพร้าว, ยาง, เครื่องใช้ภายในบ้าน, เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นต้น สิงคโปร์เป็นเมืองท่าปลอดภาษีคือม่มีการภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยจึงทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทำรายได้ให้กับประเทศอีกทางหนึ่ง สำหรับผลผลิตทางเกษตรนั้นไม่พอเพียงกับความต้องการของประชากรในประเทศ จึงต้องสั่งซื้อ อาหารจำพวกข้าว, ผัก ผลผลิต, เครื่องเทศจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะจากประเทศไทย



ภาษาที่ใช้

                      สิงคโปร์มีภาษาราชการถึง 4 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษามาเลย์และภาษาทมิฬ ศิลปวัฒนธรรมก็เป็นลักษณะผสมระหว่างจีน ,มาเลเซียและอินเดีย ภาษาประจำชาติของสิงคโปร์คือภาษามาเลย์  ภาษาราชการที่ใช้กันอยู่คือภาษาจีนกลาง, ภาษาทมิฬและภาษาอังกฤษ ภาษาที่ถูกใช้บ่อยมากที่สุดคือภาษาอังกฤษ คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า, ตลาด, โรงแรม, แท็กซี่และภัตตาคารจะไม่มีปัญหาในเรื่องของภาษาที่ใช้ แต่ถ้ามีความสามารถในด้านภาษาจีนกลางหรือภาษามาเลย์ก็จะมีประโยชน์อยู่มาก

จำนวนประชากร

           สิงคโปร์มีจำนวนประชากรประมาณ 3 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่แล้วประชากรจะอยู่หนาแน่นมากคือประมาณ 4000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ประชากรมีหลายเชื้อชาติส่วนใหญ่เป็นชาวจีนซึ่งประมาณร้อยละ 77 ชาวมลายูประมาณร้อยละ 14 ชาวอินเดียปากีสถานร้อยละ 6 นอกจากนั้นเป็นชาวยุโรปและประเทศอื่นๆ 

ศาสนา

              สิงคโปร์นั้นไม่มีศาสนาประจำชาติซึ่งประชาชนจะแยกกันนับถือศาสนาตามเชื้อชาติของตนโดยมีศาสนาคือ ศาสนาอิสลาม, ศาสนาขงจื้อ, ศาสนาคริสต์, ศาสนาพุทธ, ศาสนาฮินดูและศาสนาเต๋า ประเพณีส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับศาสนาที่นับถือ การแต่งกายส่วนใหญ่แต่งกายแบบสากลนิยม มีบางส่วนแต่งกายตามเชื้อชาติ 

ระบอบการเมืองการปกครอง

           สิงคโปร์เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษและเป็นรัฐหนึ่งของมาเลเซีย ต่อมามีปัญหาขัดแย้งในเรื่องเชื้อชาติ สิงคโปร์มีเชื้อชาติจีนมากแต่มาเลเซียมีเชื้อชาติมลายูมาก สิงคโปร์จึงได้แยกตัวออกมาเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในปัจจุบันสิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า คณะรัฐบาล เมืองที่สำคัญคือเมืองสิงคโปร์ ซึ่งเป็นทั้งเมืองหลวงและเมืองท่าสำคัญ เมืองจูรองเป็นเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่องเที่ยว 

สกุลเงิน

           สกุลเงินของสิงคโปร์แบ่งเป็นดอลลาร์สิงคโปร์ (เหรียญสิงคโปร์) และเซ็นต์ สำหรับธนบัตรสิงคโปร์ทั่วไปในตลาดมีตั้งแต่ใบละ 2, 5, 10, 50, 100, 1,000, 10,000 เงินสกุลอื่น ๆ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ, ดอลลาร์ออสเตรเลีย, เยนหรือเงินปอนด์ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในช้อปปิ้งเซ็นเตอร์และร้านอาหารใหญ่ ต่างๆ   

อาณาเขตติดต่อ

             สิงคโปร์ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูใกล้เส้นศูนย์สูตรประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์ และเกาะเล็กๆ อีกกว่า 50 เกาะ มีช่องแคบยะโฮร์ที่แยกสิงคโปร์ออกจากแผ่นดินใหญ่ประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่ทั้งหมด 618 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตติดต่อในทิศต่างๆคือทิศเหนือติดกับช่องแคบยะโฮร์, ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้, ทิศใต้ ติดกับช่องแคบสิงคโปร์, ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบมะละกา 

ลักษณะภูมิอากาศ

                  สิงคโปร์อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงมีอากาศร้อนชื้นอยู่ตลอดทั้งปี อุณหภูมิโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 26 องศาเซลเซียส, ฝนตกชุก มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 97 นิ้วขึ้นไป สิงคโปร์เป็นประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ จึงได้รับอิทธิพลจากทะเลทำให้อากาศร้อนจัด ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมจะเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านในระยะนี้จึงมีโอกาสที่จะค่อนข้างเย็น 

ลักษณะภูมิประเทศ

                ในภาคตะวันตกและภาคกลางของประเทศจะเป็นเนินเขา ในภาคกลางจะมีเนินเขาซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ ไหลผ่านที่ราบไปทางตะวันออกและทางใต้ของเกาะ ฝั่งทะเลมีลักษณะเว้าแหว่งเหมาะที่จะเป็นท่าเรือ ที่ตั้งของเกาะสิงคโปร์เป็นเส้นทางผ่านของการเดินเรือ เรือที่มาจากอินเดียจะผ่านไปออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, จีน, ญี่ปุ่นและประเทศต่างๆในยุโรป ดังนั้นสิงคโปร์จึงเป็นศูนย์กลางการเดินเรือที่สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ที่ตั้งแห่งแรกของสิงโตทะเล

           แต่เดิมนั้นแม่สิงโตและสิงโตน้อยตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำสิงคโปร์ ตรงข้ามกับ Elizabeth Walk ห่างจากที่ตั้งปัจจุบันเพียง 120 เมตร เรียกบริเวณนี้ว่าสวนสิงโตทะเล (Merlion Park) ต่อมาไม่นานบริเวณดังกล่าวก็เป็นสถานที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวและกลายเป็นสถานที่ในเมืองใหญ่ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก นายลีกวนยู (Mr. Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ในขณะนั้นได้ประกอบพิธีติดตั้งรูปปั้นสิงโตในวันที่ 15 กันยายน 1972 มีการติดป้ายบรอนซ์เพื่อเป็นที่ระลึกของโอกาสพิเศษนี้โดยมีถ้อยคำจารึกไว้ว่า สิงโตทะเลถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคนที่มาเยือนสิงคโปร์ ในปัจจุบัน รูปปั้นสิงโตทะเลสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่าหนึ่งล้านคนต่อปีให้มาที่สวน Merlion Park แห่งนี้เพื่อถ่ายรูปกับสัญลักษณ์อันโด่งดังระดับโลก ณ บ้านใหม่ของมัน ที่อยู่ใกล้กับโรงแรม One Fullerton

ประวัติและต้นกำเนิดของสิงโตทะเล

                  ในตอนแรก สิงโตทะเล (Merlion) ถูกออกแบบเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ (Singapore Tourist Promotion Board - STPB) ในปี 1964 – ต่อมาไม่นาน สัตว์ประหลาดที่หัวเป็นสิงโต, ตัวเป็นปลาและยืนอยู่บนยอดคลื่นตัวนี้ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศสิงคโปร์ ในสายตาของทุกประเทศทั่วโลกสิงโตทะเล (Merlion) ถูกออกแบบขึ้นในปี 1964 โดย นายฟราเซอร์ บรูนเนอร์ (Mr. Fraser Brunner)’ ที่เป็นสมาชิกคณะกรรมการฝ่ายของที่ระลึกและผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแวนคลีฟ (Van Kleef Aquarium) หัวเป็นสิงโตหมายถึงสิงโตที่เจ้าชายซางนิลา อุตามะพบตอนที่ท่านเจอเกาะสิงคโปร์ตามที่บันทึกไว้ใน บันทึกของชาวมาเลย์ (Malay Annals) หางปลาเป็นสัญลักษณ์ของเมืองโบราณชื่อ เทมาเซ็ค (Temasek) ที่มีความหมายว่าทะเลซึ่งสิงคโปร์เป็นที่รู้จักกันก่อนที่เจ้าชายนิลาจะตั้งชื่อให้ว่า สิงหปุระ ที่เป็นภาษาสันสกฤตมีความหมายว่าเมือง (ปุระ) แห่งสิงโต (สิงค์) และยังหมายถึงจุดเริ่มต้นอันต่ำต้อยของสิงคโปร์ที่ในอดีตเคยเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง




                  รูปปั้นสิงโตทะเลสูง 8.6 เมตร หนัก 70 ตัน สร้างขึ้นจากซีเมนต์ฟอนดูโดยช่างฝีมือผู้ล่วงลับไปแล้วที่ชื่อ ลิมนางเซ็ง (Mr. Lim Nang Seng) ส่วนรูปปั้นตัวที่สองที่ขนาดเล็กกว่า สูงเพียงสองเมตร หนักสามตัน ก็ถูกสร้างโดยช่างลิมเช่นเดียวกัน ลำตัวทำจากซีเมนต์ฟอนดู, ผิวทำจากจานลายครามและตาทำจากถ้วยชาสีแดงขนาดเล็ก

ประวัติความเป็นมาของประเทศสิงคโปร์

                   ประเทศสิงคโปร์เป็นที่รู้จักครั้งแรกในศตวรรษที่ 3 ของชาวจีนในชื่อ พู เลา ชุงซึ่งแปลว่า เกาะปลายคาบสมุทรโดยในช่วงนั้นยังไม่มีใครทราบประวัติของเกาะแห่งนี้มากนัก ในศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัยและรู้จักกันในชื่อ เทมาเซ็คซึ่งแปลว่าเมืองแห่งทะเลสิงคโปร์ตั้งอยู่ตรงปลายแหลมมลายูซึ่งเป็นจุดนัดพบทางธรรมชาติของเส้นทางเดินเรือ สิงคโปร์จึงกลายเป็นจุดพักของเรือเดินสมุทรหลายประเภท ในศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์ก็ได้ชื่อใหม่คือ สิงหปุระซึ่งแปลว่า เมืองสิงโต ตามตำนานเล่าว่า เจ้าชายแห่งศรีวิชัยมองเห็นสัตว์ตัวหนึ่งแต่เข้าใจผิดว่าเป็นสิงโต ชื่อปัจจุบันของสิงคโปร์จึงถือกำเนิดขึ้น ระหว่างศตวรรษที่ 18 นั้นอังกฤษเล็งเห็นถึงความสำคัญของสิงคโปร์ทางยุทธศาสตร์สำหรับซ่อม,เติมเสบียงและคุ้มกันกองทัพเรือของอาณาจักรที่เติบใหญ่ของตนรวมถึงการขัดขวางการรุกคืบของชาวฮอลแลนด์ในภูมิภาคนี้ ตรงกันข้ามกับเบื้องหลังทางการเมืองที่กล่าวมา เซอร์สแตมฟอร์ด แรฟเฟิล กลับตั้งสิงคโปร์ให้เป็นสถานีการค้า นโยบายการค้าเสรีดึงดูดพ่อค้าจากทั่วทุกส่วนของเอเชียและจากที่ห่างไกลออกไป เช่น สหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง ในปี ค.ศ.1824 เพียงแค่ห้าปีหลังจากตั้งประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบัน ประชากรก็เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 150 คนจนกลายเป็น 10,000 คน ในปี 1832 สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางรัฐบาลของถิ่นฐานช่องแคบปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ การเปิดคลองซุเอซในปี 1869 และการเข้ามาของเครื่องโทรเลขและเรือกลไฟทำให้ความสำคัญของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่กำลังขยายตัวระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก สิงคโปร์เคยเป็นที่ทำสงครามในศตวรรษที่ 14 เมื่อเข้าเกี่ยวพันกับการแย่งชิงแหลมมลายูระหว่างประเทศสยามกับจักรวรรดิมัชปาหิตบนเกาะชวา อีกห้าศตวรรษถัดมา ที่นี่ก็เกิดสงครามครั้งสำคัญขึ้นอีกครั้ง ในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเคยถือกันว่าสิงคโปร์เป็นป้อมปราการที่ไม่มีวันแตกแต่แล้วกองทัพญี่ปุ่นก็สามารถยึดครองเกาะแห่งนี้ได้ในปี 1942 หลังสงคราม สิงคโปร์ก็กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษ การเติบโตของลัทธิชาตินิยมทำให้สิงคโปร์มีรัฐบาลปกครองตนเองในปี 1959 แล้ววันที่ 9 สิงหาคม 1965 สิงคโปร์ก็กลายเป็นสาธารณรัฐอิสระ